วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เรื่องสุชาตพุทธวงศ์

สุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒
ว่าด้วยพระประวัติพระสุชาตพุทธเจ้า
             [๑๓] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกพระนามว่า                           สุชาตะ มีพระหนุดังคางราชสีห์ พระองค์งาม มีพระคุณประมาณ                           ไม่ได้ ยากที่จะเทียมถึง พระองค์ทรงงามรุ่งเรืองด้วยพระสิริทุกเมื่อ                           ดังพระจันทร์หมดจดปราศจากมลทิน เหมือนพระอาทิตย์ส่องแสง                           พระสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันอุดมบริสุทธิ์แล้ว ทรง                           ประกาศพระธรรมจักร ณ สุมังคลนคร เมื่อพระสุชาตบรมศาสดา                           ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ในพระธรรมเทศนาครั้งที่ ๑ สัตว์ได้                           ตรัสรู้แปดสิบโกฏิ ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จเข้าจำพรรษา ณ                           เทวโลก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ทวยเทพสามโกฏิเจ็ดแสน                           ในกาลเมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปยังสำนักพระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัย                           ครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หกโกฏิ พระสุชาตบรมศาสดา ทรงมีการ                           ประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่                           ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุเหล่านั้นล้วนแต่บรรลุอภิญญาและพลธรรม                           ผู้ไม่ต้องไปในภพน้อยภพใหญ่ มาประชุมกันหกโกฏิ ครั้งที่ ๒                           ในกาลนั้น พระพิชิตมารเสด็จลงจากเทวโลก พระภิกษุขีณาสพมา                           ประชุมกันห้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระอัครสาวกของพระสัมพุทธเจ้า                           ผู้ประเสริฐกว่านรชนเข้าเฝ้าพร้อมด้วยพระขีณาสพสี่แสน สมัยนั้น                           เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีพลนิกายมาก เป็นใหญ่ในทวีปทั้งสี่ เหาะ                           ไปในอากาศ เราถวายราชสมบัติใหญ่ในทวีปทั้งสี่ และรัตนะ ๗                           ประการ อันประเสริฐในพระพุทธเจ้าแล้วออกบวชในสำนักของ                           พระองค์ พวกคนรักษาอารามในชนบท นำเอาบิณฑบาต เสนาสนะ                           และคิลานปัจจัย มาถวายแก่ภิกษุสงฆ์เนืองๆ แม้พระพุทธเจ้าผู้เป็น                           ใหญ่ในหมื่นโลกธาตุพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า                           ในสามหมื่นกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ..........
                          ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ยัง                           ความยินดีให้เกิดอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรอย่างยอดเยี่ยม ในการ                           บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย                           อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวงแล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิต                           มารให้งาม เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น เจริญพรหม                           วิหารภาวนา ถึงความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก                           พระนครชื่อว่าสุมังคละ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอุคคตะ เป็น                           พระพุทธบิดา พระนางประภาวดี เป็นพระพุทธมารดา พระองค์                           ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓                           ปราสาท ชื่อสิริ อุปสิริ และจันทะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลใน                           สองหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระ                           นามว่าสิรินันทา พระราชโอรสพระนามว่าอุปเสนะ พระพิชิตมาร                           ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยอัสวราชยานพระที่                           นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๙ เดือนเต็ม พระสุชาตมหาวีรเจ้าผู้                           เป็นนายกของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ                           พระธรรมจักร ณ สุมังคลอุทยานอันประเสริฐ ทรงมีพระสุทัสนเถระ                           และพระสุเทวเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่านารทะ เป็น                           พุทธอุปัฏฐาก พระนาคาเถรีและพระนาคสมานาเถรี เป็นพระ                           อัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกว่าไม้ไผ่ใหญ่ และ                           โพธิพฤกษ์นั้นลำต้นแข็ง ไม่เป็นโพรง มีใบแน่นหนา ลำต้นตรงใหญ่                           น่าดูน่าชม น่ารื่นรมย์ใจ ต้นหนึ่งเจริญงอกงามแล้วแตกกิ่งสาขา                           ออกไป ไม้โพธิพฤกษ์ย่อมงามเหมือนดังหางนกยูงที่ผูกเป็นกำ                           ฉะนั้น ไม้ไผ่นั้นไม่มีหนาม แม้ช่องใหญ่ก็ไม่มี มีกิ่งชิดไม่ห่าง                           เงาทึบ น่ารื่นรมย์ใจ สุทัตตอุบาสกและจิตตอุบาสก เป็นอัคร-                           อุปัฏฐาก สุภัททาอุบาสิกาและปทุมาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา                           พระพิชิตมารพระองค์นั้นมีพระองค์สูง ๕๐ ศอก ทรงประกอบด้วย                           พระอาการอันประเสริฐและพระคุณทุกอย่าง ทรงมีพระรัศมีหาเสมอ                           เหมือนมิได้ ซ่านออกโดยรอบ ไม่มีประมาณ ไม่มีเทียบเคียง                           หาอุปมาเปรียบมิได้ ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์                           ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏฏสงสาร                           ได้มากมาย ในกาลนั้น พระศาสนางามวิจิตรด้วยพระอรหันต์                           ทั้งหลาย ดังคลื่นในสมุทสาคร เหมือนดาวในท้องฟ้า ฉะนั้น                           (พระศาสนาของพระพิชิตมารคับคั่งด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย                           ผู้บรรลุไตรวิชชา ฉฬภิญญาและพลธรรม ผู้คงที่) พระพุทธเจ้า                           พระองค์นั้น หาผู้เสมอเหมือนมิได้และพระคุณเหล่านั้นหาเทียบ                           เคียงมิได้ หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ                           พระพุทธสุชาตชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ เสลาราม                           พระสถูปของพระองค์ สูง ๓ คาวุต ประดิษฐานอยู่ในเสลารามนั้น                           ฉะนี้แล.
จบสุชาตพุทธวงศ์ที่ ๑๒

เรื่องปิยทัสสีพุทธวงศ์

ปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓
ว่าด้วยพระประวัติพระปิยทัสสีพุทธเจ้า
             [๑๔] สมัยต่อมาจากพระพุทธเจ้า พระนามว่าสุชาต พระสยัมภู พระนาม                           ว่าปิยทัสสี ผู้เป็นนายกของโลก ยากที่จะเทียมทันหา ผู้เสมอเหมือน                           มิได้ มียศมาก แม้พระพุทธเจ้าผู้ทรงยศนับมิได้พระองค์นั้น ทรง                           รุ่งเรืองดังพระอาทิตย์ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวงแล้ว ทรงประกาศ                           พระธรรมจักร แม้พระองค์ก็ทรงสั่งสอนให้สัตว์ได้ตรัสรู้ธรรม ๓                           ครั้ง ครั้งที่ ๑ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ท้าวสุทัสนเทว-                           ราชมากราบทูลถึงมิจฉาทิฏฐิ เมื่อพระศาสดาจะทรงบรรเทาทิฏฐิของ                           ท้าวเทวราชนั้น ทรงแสดงธรรม ครั้งนั้น มหาชนมาประชุมสันนิบาต                           กันมากมาย ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าพันโกฏิ ในคราว                           ที่พระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกนรชน ทรงปราบช้างโทนมุข ธรรมาภิ-                           สมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ แม้พระปิยทัสสีพุทธเจ้า                           พระองค์นั้น ก็มีการประชุมพระภิกษุขีณาสพ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑                           พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ต่อแต่นั้น พระ-                           ภิกษุขีณาสพมาประชุมกันเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระภิกษุขีณาสพ                           มาประชุมกันแปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นมาณพชื่อว่า กัสสปะ                           เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท เราได้ฟังธรรมของพระองค์                           แล้ว เกิดความเลื่อมใส ได้บริจาคทรัพย์แสนโกฏิสร้างสังฆาราม                           ถวาย ครั้นถวายอารามแก่พระองค์แล้ว มีใจยินดีโสมนัส ได้สมาทาน                           สรณะและเบญจศีลกระทำให้มั่น แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็                           ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์ ทรงพยากรณ์เราว่า ในพันแปดร้อยกัป                           ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก .......... ข้ามแม่น้ำใหญ่                           ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใส
                          อย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้น                           พระนครชื่อว่าสุธัญญะ พระบรมกษัตริย์ พระนามว่าสุทัตตะ เป็น                           พระชนกของพระปิยทัสสีศาสดา พระนางสุจันทา เป็นพระชนนี                           พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอัน                           ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อสุนิมมิละ วิมละ และคิริคุหา ทรงมีพระ-                           สนมนารีกำนัลในสามหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม                           พระมเหสีพระนามว่าวิมลา พระราชโอรสพระนามว่ากัญจนาเวฬะ                           พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยราชรถทรง                           ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือนเต็ม พระปิยทัสสีมหามุนีมหาวีรเจ้า                           อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อุสภ-                           อุทยานอันรื่นรมย์ใจ ทรงมีพระปาลิตเถระและพระสรรพทัสสีเถระ                           เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าโสภิตะ เป็นพุทธอุปัฏฐาก                           พระสุชาตาเถรีและพระธรรมทินนาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิ                           พฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าต้นกุ่ม สันทกอุบาสกและธรรมิก                           อุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก วิสาขาอุบาสิกาและธรรมทินนาอุบาสิกา                           เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าผู้ทรงยศนับมิได้พระองค์นั้น ทรงมี                           พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ สูง ๘๐ ศอก ปรากฏดัง                           พญารัง รัศมีของพระบรมศาสดาซึ่งหาผู้เสมอมิได้พระองค์นั้น                           แสงไฟ รัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ ไม่เปรียบปานเลย แม้                           พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี                           เท่ากับอายุของมนุษย์ทั้งหลาย แม้พระพุทธเจ้าซึ่งหาผู้เสมอเหมือน                           มิได้พระองค์นั้น แม้คู่พระอัครสาวกซึ่งไม่มีผู้เทียบเคียงเหล่านั้น                           หายไปหมดสิ้นแล้ว สังขารทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระปิยทัสสีมุนี                           ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ อัสสัตถาราม พระสถูปของพระองค์                           สูง ๓ โยชน์ ประดิษฐาน ณ อัสสัตถารามนั้น ฉะนี้แล.
จบปิยทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๓

เรื่องอัตถทัสสีพุทธวงศ์

อัตถทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๔
ว่าด้วยพระประวัติพระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
             [๑๕] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้มียศมากนามว่าอัตถทัสสี ทรง                           กำจัดความมืดใหญ่ออกแล้ว ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด                           พรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ทรงยังหมื่นโลก                           ธาตุพร้อมทั้งเทวโลก ให้ดื่มน้ำอมฤตธรรมจนอิ่มหนำสำราญ แม้                           พระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกนั้น ก็ทรงมีการแสดงธรรมให้สัตว์ได้                           ตรัสรู้ ๓ ครั้ง ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในกาล                           เมื่อพระพุทธอัตถทัสสีเสด็จจาริกไปในเทวโลก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒                           ได้มีแก่ทวยเทพแสนโกฏิอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรง                           แสดงธรรมในสำนักพระพุทธบิดา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่                           สัตว์แสนโกฏิ และพระบรมศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุม                           พระภิกษุขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ผู้หลุดพ้น                           เพราะไม่ถือมั่น ผู้แสวงหาประโยชน์ใหญ่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุ                           ขีณาสพมาประชุมกันเก้าหมื่นแปดพัน ครั้งที่ ๒ พระภิกษุขีณาสพ                           มาประชุมกันแปดหมื่นแปดพัน ครั้งที่ ๓ พระภิกษุขีณาสพมาประชุม                           กันเจ็ดหมื่นแปดพัน สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะอันรุ่งเรือง มีนาม                           ชื่อว่าสุสิมะ ประชาชนยกย่องว่าเป็นผู้ประเสริฐสุดในแผ่นดิน เรา                           นำดอกมณฑารพ ดอกประทุม ดอกปาริชาตอันเป็นทิพย์ จากเทวโลก                           มาบูชาพระสัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธอัตถทัสสีมหามุนีพระองค์นั้นก็                           ทรงพยากรณ์เราว่า ในพันแปดร้อยกัป ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าใน                           โลก ................. ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธ
                          พยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็มีใจยินดีโสมนัส ได้อธิษฐานวัตรในการ                           บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่าโสภณะ พระบรม                           กษัตริย์พระนามว่าสาคระ เป็นพระชนกของพระอัตถทัสสีศาสดา                           พระนางสุทัสนา เป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถาน                           อยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่ออมรคิ สุรคิ                           และคิริพาหนะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลในสามหมื่นสามพันนาง                           ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวิสาขาพระราช-                           โอรสพระนามว่าเสละ พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงเสด็จ                           ออกผนวชด้วยอัสวราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม                           พระนราสภอัตถทัสสีมหาวีรเจ้า ผู้มีพระยศใหญ่ อันพรหมทูลอาราธนา                           แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อโนมอุทยานทรงมีพระสันต                           เถระและพระอุปสันตเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าอภัย                           เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระธรรมาเถรีและสุธรรมาเถรี เป็นพระอัคร-                           สาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าจำปา นกุลอุบาสกและ                           นิสภอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก มกิลาอุบาสิกาและสุนันทาอุบาสิกา                           เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น                           สูง ๘๐ ศอก ทรงสง่างามดังพญารัง เหมือนพระจันทร์เต็มดวง มี                           พระรัศมีอันประเสริฐหลายร้อยเป็นปกติ แผ่ไปโยชน์หนึ่ง                           ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำ ทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ทุกเมื่อ แม้พระพุทธมุนีผู้                           ประเสริฐกว่านรชน สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ ผู้มีจักษุ พระองค์นั้น                           ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี แม้พระองค์ทรงแสดงพระรัศมีอันไม่มี                           สิ่งอื่นเทียมทันให้สว่างไสว ไพโรจน์ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกแล้ว                           ก็เสด็จนิพพานดับไป ดังไฟสิ้นเชื้อ ฉะนั้น พระอัตถทัสสีชินเจ้า                           ผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพาน ณ อโนมาราม พระธาตุเรี่ยรายแผ่กว้าง                           ไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล.
จบอัตถทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๔

เรื่องธรรมทัสสีพุทธวงศ์

ธรรมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕
ว่าด้วยพระประวัติพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า
             [๑๖] ในมัณฑกัปนั้นแล มีพระพุทธเจ้าผู้มียศมากพระนามว่าธรรมทัสสี                           ทรงกำจัดความมืดตื้อแล้ว ทรงรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ในโลกพร้อมทั้งเทว                           โลก แม้ในความที่พระองค์ผู้มีเดชไม่มีเทียบนั้นทรงประกาศ                           พระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในคราว                           เมื่อพระพุทธธรรมทัสสีทรงแนะนำสญชัยฤาษี ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒                           ได้มีแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ ในคราวเมื่อท้าวสักกะพร้อมด้วยบริษัท                           เสด็จเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปด                           สิบโกฏิ แม้พระบรมศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุ                           ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อ                           พระพุทธธรรมทัสสีทรงจำพรรษา ณ สมณนคร พระภิกษุขีณาสพ                           มาประชุมกันพันโกฏิ ครั้งที่ ๒ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลก                           มายังมนุษยโลก แม้ครั้งนั้น พระภิกษุขีณาสพมาประชุมกันร้อยโกฏิ                           ครั้งที่ ๓ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศธุดงคคุณ ครั้งนั้นพระภิกษุ-                           ขีณาสพมาประชุมกันแปดสิบโกฏิ สมัยนั้น เราเป็นท้าวปุรินททสักก-                           เทวราช ได้บูชาพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยของหอม มาลาและ                           ดนตรีทิพย์ แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์ ก็                           ทรงพยากรณ์เราในกาลนั้นว่า ในพันร้อยแปดกัป ผู้นี้จักได้เป็น                           พระพุทธเจ้า ...... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์                           แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญ                           บารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้นไป พระนครชื่อว่าสรณะ พระบรม-                           กษัตริย์พระนามว่าสรณะ เป็นพระชนกของพระธรรมทัสสีศาสดา                           พระนางสุนันทา เป็นพระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคาร                           สถานอยู่แปดพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่า
                          อรชะ วิรชะ และสุทัสนะ มีพระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่น ล้วน                           ประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าวิจิโกลี พระราชโอรส                           พระนามว่าปุญญวัฑฒนะ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึง                           เสด็จออกผนวชด้วยปราสาท ได้ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระธรรม                           ทัสสีนราสภมหาวีรเจ้า ผู้สูงสุดกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนา                           แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน พระองค์มีพระปทุม                           เถระและพระปุสสเทวเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่า                           สุทัตตะ เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก พระเขมาเถรีและพระสัจจนามาเถรี                           เป็นพระอัครสาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าติมพชาละ                           (มะพลับ) สุภัททอุบาสกและกฏิสสหอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก                           สาฬิสาอุบาสิกาและกฬิสสาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา แม้                           พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์นั้นสูง ๘๐ ศอก ทรงมี                           พระเดชรุ่งเรืองอย่างยิ่ง แผ่ไปในหมื่นธาตุ พระองค์งามสง่า ดัง                           พญารังมีดอกบาน เหมือนสายฟ้าในอากาศ ดุจพระอาทิตย์ในเวลา                           เที่ยง ฉะนั้น แม้พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ มีพระเดชไม่มีเทียบเคียง                           ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่สม่ำเสมออยู่ในโลกแสนปี ทรงแสดง                           พระรัศมีสว่างไสว ทำพระศาสนาให้ปราศจากมลทิน เสด็จนิพพาน                           พร้อมกับพระสาวก ดังพระจันทร์ลับไปในท้องฟ้า ฉะนั้น พระธรรม                           ทัสสีมหาวีรเจ้าเสด็จนิพพาน ณ เกสาราม พระสถูปอันประเสริฐ                           ของพระองค์ สูง ๓ โยชน์ ฉะนี้แล.
จบธรรมทัสสีพุทธวงศ์ที่ ๑๕

เรื่องสิทธัตถพุทธวงศ์

สิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖
ว่าด้วยพระประวัติพระสิทธัตถพุทธเจ้า
             [๑๗] สมัยต่อมาจากพระธรรมทัสสีพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า                           สิทธัตถะ ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง เหมือนพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น                           แม้พระองค์ทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงช่วยหมู่มนุษย์ พร้อม                           ด้วยเทวดาให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสาร ทรงยังฝนคือธรรมให้ตก ดับความ                           ร้อนให้แก่โลกพร้อมด้วยเทวโลก แม้พระองค์ผู้มีเดชไม่มีเทียบเคียง                           ก็ตรัสพระธรรมเทศนาให้สัตว์ได้ตรัสรู้ธรรม ๓ ครั้ง ธรรมาภิสมัย                           ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์                           นั้น ทรงตีกลองอมฤตเภรีที่ภีมรัฐ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่                           สัตว์เก้าสิบโกฏิ ในคราวเมื่อพระพุทธเจ้าผู้อุดมกว่านรชนพระองค์                           นั้นทรงแสดงธรรมที่เวภารบรรพต ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่                           สัตว์เก้าสิบโกฏิ พระสิทธัตถบรมศาสดาทรงมีการประชุมพระภิกษุ-                           ขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง สถานที่                           ที่พระภิกษุผู้ปราศจากมลทิน มาประชุมกัน ๓ แห่ง แห่งที่ ๑                           พระภิกษุร้อยโกฏิ แห่งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ และแห่งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ                           สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อว่ามงคล มีเดชอันรุ่งเรืองยากที่ผู้อื่นจะข่มได้                           ประกอบด้วยกำลังแห่งอภิญญา เราได้นำเอาผลหว้ามาถวายแด่                           พระสิทธัตถสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า                           จงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะรุ่งเรืองนี้ ในกัปที่ ๙๔ แก่กัปนี้ ดาบสนี้จัก                           ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ................. ข้ามแม่น้ำใหญ่                           ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใส                           อย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น                           พระนครชื่อว่าเวภาระ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าอุเทน เป็น                           พระชนกของพระสิทธัตถบรมศาสดา พระนางสุผัสสา เป็นพระชนนี
                          พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาทอัน                           ประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อโกกาสะ อุปละ และโกกนุทะ ทรงมี                           พระสนมนารีกำนัลในสี่หมื่นแปดพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม                           พระมเหสีพระนามว่าสุมนา พระราชโอรสพระนามว่าอนูปมะ                           พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยวอทอง                           ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม พระสิทธัตถมหาวีรเจ้าผู้เป็น                           นายกของโลก อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรง                           ประกาศพระธรรมจักรที่มฤคทายวัน ทรงมีพระสัมพลเถระและพระ                           สุมิตตเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าเรวตะ เป็นพระพุทธ                           อุปัฏฐาก พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา                           ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่ากรรณิการ์ สุปปิยอุบาสกและ                           สัมพุทธอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก รัมมาอุบาสิกาและสุรัมมา                           อุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๖๐ ศอก                           พระองค์งามเปล่งปลั่งดั่งทองคำล้ำค่า รุ่งเรืองไปในหมื่นโลกธาตุ                           พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงพระคุณไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีบุคคล                           เปรียบเทียบถึง ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระองค์ทรงแสดง                           พระรัศมีอันไพบูลย์ ทรงยังพระสาวกทั้งหลายให้บานสะพรั่ง                           ทรงเยื้องกรายงดงามด้วยสมาบัติอันประเสริฐ แล้วเสด็จนิพพาน                           พร้อมด้วยพระสาวก พระสิทธัตถพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีประเสริฐเสด็จ                           นิพพาน ณ อโนมาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์ สูง ๔                           โยชน์ ประดิษฐานอยู่ที่อโนมาราม ฉะนี้แล.
จบสิทธัตถพุทธวงศ์ที่ ๑๖

เรื่องติสสพุทธวงศ์

ติสสพุทธวงศ์ที่ ๑๗
ว่าด้วยพระประวัติพระติสสพุทธเจ้า
             [๑๘] ในกัปต่อมาจากพระสิทธัตถพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ                           ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ มีศีลไม่มีที่สุด ทรงยศนับมิได้ เป็นนายก                           ชั้นเลิศของโลก พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ ผู้ทรงอนุเคราะห์ เสด็จ                           อุบัติขึ้นในโลก กำจัดความมืดมน ฉายพระรัศมีให้มนุษยโลกพร้อม                           ทั้งเทวโลกสว่างไสว แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงมีฤทธิ์ ศีล                           และสมาธิ ไม่มีสิ่งอื่นเทียมถึง ทรงบรรลุถึงความสำเร็จในธรรม                           ทั้งปวงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร พระองค์ทรงแสดงธรรม                           สั่งสอนถึงความบริสุทธิ์ไปในหมื่นโลกธาตุ ในพระธรรมเทศนาครั้ง                           ที่ ๑ สัตว์ได้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ หกสิบ                           โกฏิ ครั้งนั้น พระองค์ทรงเปลื้องมนุษย์และเทวดาที่มาประชุมกัน                           ให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูก พระองค์ทรงมีการประชุมพระภิกษุ                           ขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑                           พระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้บานแล้วด้วยวิมุติ มาประชุม                           กันหนึ่งแสน ครั้งที่ ๒ เก้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดโกฏิ สมัยนั้น                           เราเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่าสุชาต ละทิ้งโภคสมบัติเป็น                           อันมากแล้ว ออกบวชเป็นฤาษี เมื่อเราบวชแล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็น                           นายกของโลกจึงเสด็จอุบัติ เพราะได้ฟังเสียงว่าพุทโธ ปีติจึงเกิดแก่                           เรา เราผู้กำจัดมานะแล้ว เอามือทั้งสองประคองดอกมณฑารพ ดอก                           ปทุม และดอกปาริชาต เข้าไปเฝ้า เราเอาดอกไม้นั้นถือกั้นเป็นร่ม                           ให้พระติสสชินเจ้า ผู้แวดล้อมด้วยพระรัศมีอันปรากฏ ผู้เป็นนายก                           ชั้นเลิศของโลก ในกาลนั้น แม้พระองค์ก็ประทับนั่งท่ามกลาง
                          ประชุมชน ทรงพยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้                           เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ...........................                           ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้วยัง                           จิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐                           ประการยิ่งขึ้น พระนครชื่อว่าเขมกะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่า                           ชนสันทะ เป็นพระชนกของพระติสสศาสดา พระนางปทุมา เป็น                           พระชนนี พระองค์ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เจ็ดพันปี ทรงมี                           ปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อคุณเสลา นาทิยะ และนิสภะ                           ทรงมีพระสนมนารีกำนัลในสามหมื่นนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม                           พระมเหสีพระนามว่าสุภัททา พระราชโอรสพระนามว่าอานันทะ                           พระพิชิตมารทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วย                           อัสวราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ครึ่งเดือนเต็ม พระติสสมหาวีรเจ้า                           ผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลก อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ                           พระธรรมจักร ที่ยสวดีทายวันอันประเสริฐ ทรงมีพระพรหมเทว                           เถระและพระอุทยเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อว่าสมคะ เป็น                           พระพุทธอุปัฏฐาก พระผุสสาเถรีและพระสุทัตตาเถรี เป็นพระอัคร                           สาวิกา ไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์เรียกชื่อว่าไม้ประดู่ สัมพล                           อุบาสกและศิริอุบาสก เป็นอัครอุปัฏฐาก กิสาโคตมีอุบาสิกาและ                           อุปเสนาอุบาสิกา เป็นอัครอุปัฏฐายิกา แม้พระพุทธชินเจ้าพระองค์                           นั้น ก็มีพระองค์สูง ๖๐ ศอก ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน                           ทรงปรากฏดังขุนเขาหิมวันต์ แม้พระองค์ผู้มีเดชหาเทียบเคียงมิได้                           มีพระจักษุ ทรงมีพระชนมายุมาก ดำรงอยู่ในโลกแสนปี พระองค์                           ทรงเสวยพระยศใหญ่ อุดม ประเสริฐสุด ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ                           เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระองค์เสด็จนิพพานพร้อมด้วย                           พระสาวกดังเมฆหายไปเพราะลม น้ำค้างหายไปเพราะพระอาทิตย์                           ความมืดหายไปเพราะแสงไฟ ฉะนั้น พระติสสพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ                           เสด็จนิพพาน ณ นันทาราม พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์                           สูง ๓ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ที่นันทารามนั้น ฉะนี้แล.
จบติสสพุทธวงศ์ที่ ๑๗

เรื่องปุสสพุทธวงศ์

ปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘
ว่าด้วยพระประวัติพระปุสสพุทธเจ้า
             [๑๙] ในมัณฑกัปนั้นแล ได้มีพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยม ผู้ไม่มีใครเปรียบ                           เสมอเหมือน พระนามว่าปุสสะ เป็นนายกชั้นเลิศของโลก แม้                           พระองค์ก็ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ทรงสางความรกชัฏเป็นอันมาก                           แล้ว ทรงยังน้ำอมฤตให้ตก ช่วยให้มนุษย์พร้อมด้วยเทวดาได้ดื่ม                           จนสำราญ เมื่อพระองค์ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ เดือน                           ผุสสนักขัตมงคล ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้แก่สัตว์แปดโกฏิ                           ครั้งที่ ๒ เก้าโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดโกฏิ พระปุสสบรมศาสดา ทรง                           มีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตระงับ ผู้คงที่                           ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระภิกษุขีณาสพผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ผู้ตัด                           ธรรมเครื่องสืบต่อขาด มาประชุมกันหกโกฏิ ครั้งที่ ๒ ห้าโกฏิ                           ครั้งที่ ๓ สี่โกฏิ สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าวิชิต ละทิ้ง                           ราชสมบัติเป็นอันมากแล้วออกผนวช ในสำนักของพระองค์ แม้                           พระปุสสพุทธเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศของโลกพระองค์นั้น ก็ทรง                           พยากรณ์เราว่า ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้า                           ในโลก ....... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์                           แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการ                           บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการยิ่งขึ้น เราเล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย                           อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์จบทุกอย่างแล้ว ยังพระศาสนาของ                           พระชินเจ้าให้งาม เราเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสั่งสอนนั้น เจริญพรหม                           วิหารภาวนา ถึงความสำเร็จในอภิญญาแล้ว ได้ไปยังพรหมโลก                           พระนครชื่อว่ากาสิกะ พระบรมกษัตริย์พระนามว่าชยเสนะ เป็น                           พระชนกของพระปุสสศาสดา พระนางสิริมา เป็นพระชนนี พระองค์                           ทรงครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าพันปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓
                          ปราสาท ชื่อว่าคุฬะ หังสะ และสุวรรณดารา มีพระสนมนารีกำนัล                           ในสองหมื่นสามพันนาง ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสี                           พระนามว่ากีสาโคตมี พระราชโอรสพระนามว่าอานันทะ พระองค์                           ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยคชสารราชยาน                           ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วัน พระปุสสมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายกชั้นเลิศ                           ของโลก อุดมกว่านรชน อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ                           พระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน ทรงมีพระสุรักขิตเถระและพระธรรม                           เสนเถระ เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อสภิยะ เป็นพระพุทธ                           อุปัฏฐาก พระจาลาเถรีและพระอุปจาลาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา ไม้                           โพธิพฤกษ์เรียกกันว่าไม้มะขามป้อม อนัญชยอุบาสกและวิสาขอุบาสก                           เป็นอัครอุปัฏฐาก ปทุมาอุบาสิกาและสิรินาคาอุบาสิกา เป็นอัคร-                           อุปัฏฐายิกา พระมุนีพระองค์นั้นมีพระองค์สูง ๕๘ ศอก ทรงงาม                           สง่าดังพระอาทิตย์ เหมือนพระจันทร์เต็มดวง ฉะนั้น ในกาลนั้น                           มนุษย์ทั้งหลายมีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่                           เพียงนั้น ทรงช่วยหมู่ชนให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสารได้มากมาย                           พระศาสดาผู้มีพระยศไม่มีเทียมพระองค์นั้น ตรัสสอนสัตว์เป็น                           อันมาก ทรงช่วยให้ประชาชนมากมายข้ามไปแล้ว พระองค์                           เสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระปุสสชินศาสดาผู้ประเสริฐ                           เสด็จนิพพาน ณ เสนาราม พระธาตุของพระองค์แผ่ไพศาลไปใน                           ประเทศนั้นฉะนี้แล.
จบปุสสพุทธวงศ์ที่ ๑๘